ลงรูป

ดูตัวอย่าง


ปรับต้ำแหน่ง
ปรับต้ำแหน่ง



ค้นหา
สร้างตาราง
1

ธาตุอาหารพืช เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย 17 ธาตุ ได้แก่

  1. คาร์บอน,
  2. ไฮโดรเจน,
  3. ออกซิเจน,
  4. ไนโตรเจน,
  5. ฟอสฟอรัส,
  6. โปแตสเซียม,
  7. แคลเซียม,
  8. แมกนีเซียม,
  9. กำมะถัน,
  10. เหล็ก,
  11. แมงกานีส,
  12. สังกะสี,
  13. ทองแดง,
  14. โบรอน,
  15. โมลิบดีนัม,
  16. คลอรีน
  17. และนิเกิล
2

 กลุ่มธาตุอาหารหลัก (primary nutrient elements) 3 คือ ธาตุอาหารพืชที่ต้องการในปริมาณมาก 3 ธาตุ ได้แก่

  1. ไนโตรเจน
  2. ฟอสฟอรัส
  3. และโพแทสเซียม
  • กลุ่มธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยกว่ากว่ากลุ่มแรก 3 ธาตุ ได้แก่
  1. แคลเซียม
  2. แมกนีเซียม
  3. และกำมะถัน
  • จุลธาตุ 8 ธาตุ (micronutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย โดยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่
  1. เหล็ก,
  2. แมงกานีส,
  3. สังกะสี,
  4. ทองแดง,
  5. โบรอน,
  6. โมลิบดีนัม,
  7. คลอรีน
  8. และนิเกิล
3

ไนโตรเจน

หน้าที่ไนโตรเจนและความสำคัญต่อพืช  


1. ทำให้พืชเจริญเติบโต และตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และลำต้น ทำให้ลำต้น และใบมีสีเขียวเข้ม
3. ส่งเสริมการสร้างโปรตีนให้แก่พืช
4. ควบคุมการออกดอก และติดผลของพืช
5. เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ใบ และลำต้น
 

ขาดไนโตรเจน

  1. การเจริญเติบโตจะชะงัก
  2. ใบมีสีเหลืองหรือเหลืองปนส้ม
  3. เนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์ หากเป็นมากใบจะมีสีน้ำตาล
     

 

4

ฟอสฟอรัส

หน้าที่ฟอสฟอรัสและความสำคัญต่อพืช  


1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทั้งรากแก้ว ราฝอย และรากแขนง โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วยการออกดอก การติดผล และการสร้างเมล็ด
3. ช่วยให้รากดูดโปแตสเซียมจากดินมาใช้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
4. ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
5. ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
6. ลดผลกระทบที่เกิดจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป

ขาดฟอสฟอรัส

  1. อาการจะเริ่มที่ใบแก่ก่อน ใบมีขนาดเล็ก จำนวนใบน้อย ใบแห้งเป็นจุดๆ
  2. การเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก
  3. ลำต้นแคระแกร็น
  4. รากเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล

 

5

 โปแตสเซียม

หน้าที่โปแตสเซียมและความสำคัญต่อพืช  


1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น
2. จำเป็นต่อการสร้างเนื้อผลไม้ การสร้างแป้งของผล และหัว จึงนิยมให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากในระยะเร่งดอก ผล และหัว
3. ช่วยให้พืชต้านทานการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสง อุณภูมิหรือความชื้น
4. ช่วยให้พืชต้านทานต่อโรคต่างๆ
5. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืช ผัก และผลไม้ ทำให้พืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน
6. ช่วยป้องกันผลกระทบจากที่พืชได้รับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากเกินไป

ขาดโปแตสเซียม

  1. ใบเหลืองเป็นแนว ใบแห้งตายเป็นจุดๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบ และปลายใบ ใบม้วนงอ
  2. ลำต้นมีปล้องสั้น
  3. ยอดใบเป็นจุดๆ